วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฟักทอง

                                       ฟักทอง 

ฟักทองได้ชื่อว่าเป็นพืชผักที่อุดมไปด้วยวิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซีและวิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น leutin xanthins และ carotenes เป็นต้น ฟักทองมีแคลอลี่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมคอเรสเตอรอลและผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ฟักทองไม่มีไขมันอิ่มตัว(saturated fats)มีเส้นใยอาหารที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก

วิตามินเอในฟักทอง ช่วยเรื่องผิวพรรณ บำรุงสายตา มีการวิจัยยืนยันว่า อาหารที่มีวิตามินเอสูง ช่วยป้องกันมะเร็งปอด และมะเร็งในช่องปากได้

มาปลูกฟักทองเป็นผักสวนครัวกันดีกว่า

ฟักทองเป็นพืชเถาปลูกได้ทั่วไป เป็นพืชผักที่แมลงไม่ค่อยชอบทำลาย อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 120-180 วัน ผักทองแต่ละต้น จะให้ผลได้ 4-5 ผล ถ้าดูแลดี ๆ จะให้ผลได้ถึง 7 ผล ต่อต้นทีเดียว

ลักษณะนิสัยของฟักทอง

ฟักทองเป็นพืชผักที่มีลำต้นทอดและเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่นเดียวกับแตงโม มีดอกสีเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องการช่วยผสมเกสร โดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัด หรือมีแมลงผสมเกสร หรือผู้ปลูกช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผล

ฟักทองเป็นไม้เถาอ่อน มีขนสากมือ มีหนวดสำหรับเกี่ยวพันทอดไปตามพื้นดิน จึงต้องการเนื้อที่ปลูกมากกว่าพืชผักอื่นๆ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุปีเดียว (ฤดูเดียว) เมื่อให้ผลแล้วก็ตายไป

ฟักทองมีหลายพันธุ์ทั้งแบบต้นเลื้อยและเป็นพุ่มเตี้ย พันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน ส่วนพันธุ์หนักมีอายุตั้งแต่หยอดเมล็ดจนติดผลอ่อน 45-60 วันและให้ผลแก่เมื่อ 120-180 วัน

ดินที่ฟักทองชอบ

ฟักทองปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีการปลูกผัก ชอบดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี และมีการระบายน้ำดี มีค่าความเป็นกรด-ด่างของดินระหว่าง 5.5-6.8 (ชอบดินเป็นกรดเล็กน้อย) ชอบอากาศแห้ง ดินไม่ชื้นแฉะ และน้ำไม่ขัง

ฤดูปลูก ส่วนมากจะเริ่มปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม หรือหลังฤดูทำนา แต่สามารถได้ดีในปลายฤดูฝน และต้นฤดูหนาวคือช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม และปลูกได้ดีที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธุ์

การเตรียมดิน

ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืช ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด

การปลูก 

พันธุ์หนัก เป็นพันธ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร
พันเบา เป็นพันธุ์ที่มีทรงต้นพุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75x150 ซม.

ใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็วการหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก

การดูแลรักษาและใส่ปุ๋ย

เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน

เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน

เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน

พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา

การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ นอกจากนี้ ควรช่วยกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะแรก เพื่อให้ดินร่วนซุยและโปร่ง พอต้นฟักทองมีใบปกคลุมดินแล้วก็ไม่ต้องกำจัดวัชพืช

เทคนิคการช่วยผสมเกษรให้ฟักทอง

เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป วิธีนี้เรียกว่า "การต่อดอก"

วิธีสังเกตดอกตัวผู้-ตัวเมีย ดอกตัวผู้จะมีลักษณะเป็นรูปลำโพงเฉย ๆ แต่ดอกตัวเมียจะมีตุ่ม เหมือนฟักทองลูกเล็ก ๆ ดอกตัวเมียจะเกิดหลังตัวผู้ จะมีตอนกลาง ๆ เถาไปส่วนปลายยอดเถา

ดอกตัวเมียและตัวผู้ของฟักทองจะเริ่มบานในช่วงเวลา 3.30-6.00 น. อับละอองเรณูของฟักทองจะแตกระหว่างเวลา 21.00-3.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 16 ชั่วโมง หลังอับละอองเรณูแตกยอดเกสรตัวเมียจะพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้นในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรฟักทอง คือ ตั้งแต่เวลา 6.00-9.00 น.

แมลงศัตรูของฟักทอง

แมลงศัตรูที่สำคัญของฟักทองคือเพลี้ยไฟ ควรปลูกมะระล้อมไว้สัก 2 ชั้น แล้วจึงปลูกฟักทอง เพราะมะระจะต้านทานเพลี้ยไฟได้ดี หรือปลูกมะระแซมในแปลงที่ปลูกฟักทอง ก็ยิ่งดี จะได้ถึง 2 ต่อ คือได้กินมะระ และกินฟักทองด้วย นะครับ

แหล่งที่มา
http://www.doae.go.th/library/html/detail/pumpkin/pumpkin2.htm 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น