วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

ถั่วฝักยาว

 ..... ถั่วฝักยาว
.....ถั่วฝักยาวอุดมไปด้วยกากใย หรือไฟเบอร์ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด รวมทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการรับประทานถั่วฝักยาวดิบๆ ทำให้ได้รับวิตามินซีมากกว่าถั่วฝักยาวที่นำไปปรุงอาหารแล้ว เนื่องจากวิตามินซีสูญเสียได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แค่ถั่วฝักยาวที่ปรุงแล้วยังคงสรรพคุณในด้านอื่นๆ อย่างครบถ้วน .....ก่อนจะปลูกถั่วฝักยาวผู้ปลูกควรจะทราบว่าถั่วฝักยาวนั้นนอกจากคนจะชอบแล้วยังเป็นผักที่หนอนและแมลงชอบอีกด้วย จึงต้องมีการฉีดยาฆ่าแมลง.   ซึ่งการปลูกไว้เป็นผักสวนครัวนิยมปลูกไว้ริมรั้วหรือบางรายปลูกถั่วฝักยาวไว้ที่ไร้ค้าง ซึ่งเป็นถั่วฝักยาวที่เกิดจากการผสมระหว่างถั่วพุ่มกับถั่วฝักยาว โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีลำค้นตั้งแข็งแรง ฝักยาวและไม่ต้องใช้ค้างในการปลูก
.....พันธุ์ที่เป็นที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์พื้นบ้าน พันธุ์ ก-21-A ของกรมวิชาการเกษตรและพันธุ์ มก.7 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้คัดพันธุ์ถั่วพุ่มกินผักสด ซึ่งมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับถั่วฝักยาว โดยใช้ชื่อว่าถั่วฝักยาวไร้ค้าง พันธุ์ มข.25 ซึ่งถั่วฝักยาวพันธุ์นี้สามารถทนอากาศร้อนแลพแห้งแล้งได้ดีกว่าถั่วฝักยาวธรรมดา  นอกจากนี้พันธุ์ถั่วฝักยาวของเอกชนที่เป็นที่นิยมของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ .....การเตรียมแปลงปลูก ขุดดินลึกประมาณ 18-22 เซนติเมตร ตากแดดประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม เพื่อปรับสภาพดินโดนเฉพาะดินทรายหรือดินเหนียว และควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 ในการเตรียมดินด้วย
..... วิธีการปลูก ใช้วิธีการหยอดเมล็ด 3-4 เมล็ดต่อหลุม ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50-80 เซนติเมตร กลบด้วยฟางหรือหญ้าแห้งช่วยเก็บรักษาความชื้นของหน้าดิน ...หลังจากเมล็ดงอกแล้วให้ถอนต้นที่อ่อนออกให้เหลือ 2 ต้อนต่อหลุม เมื่อมีใบจริง 4-5 ใบ ปักค้าง เมื่ออายุประมาณ 1 เดือน โดยปักเดี่ยวตั้งตรงหรือเอนเข้าหากันแล้วผูกเป็นกระโจมหรือร้านก็ได้ ส่วนการปลูกถั่วฝักยาวแบบไร้ค้างนั้น ควรปลูกเป็นแถวเพื่อสะดวกในการดูแลเก็บผักสด ใช้ระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะต้น 30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้นเท่านั้น ( ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยกจะทำให้ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้นจะเสียดสีกันทำให้เกิดแผลและเน่าตายในที่สุด ) .....ถั่วฝักยาวจะทนแล้งได้เพียงบางช่วง แต่จะทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ ระยะที่ถั่วฝักยาวต้องการน้ำมากและขาดน้ำไม่ได้คือ ช่วงออกดอก และช่วงพัฒนาฝัก ดังนั้นการปลูกถั่วฝักยาวต้องมีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับถั่วฝักยาว คือ ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 5-10-5 หรืออาจจะใช้ปุ๋ยหมักทดแทนก็ได้ โดยแบ่งระยะใส่ปุ๋ยเป็น 2 ช่วง คือ ใส่รองก้นหลุม และเมื่อมีอายุได้ประมาณ 20-30 วัน โดยการจัดวัชพืชก่อนแล้วจึงพรวนดินใส่ปุ๋ยไปพร้อมกัน ถั่วฝักยาวมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 55-75 วันขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก การเก็บโดยใช้มือเด็ดหรือการใช้กรรไกรตัด การเก็บควรทยอยเก็บบ่อยๆ ทุกๆ 2-4 วัน โดยไม่ควรปล่อยให้ฝักแก่ค้างคาต้นจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยทั่วไปจะสามารถเก็บนานประมาณ 10-20 ครั้ง หรือประมาณ 22-25 วัน ส่วนถั่วฝักยาวไร้ค้างสามารถเก็บผักสดครั้งแรกได้เมื่ออายุ 42-45 วันหลังการปลูก และจะเก็บผลผลิตได้เรื่อยๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจากการเก็บผักสดชุดแรก ควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนที่มาเจาะทำลายต้นและดอก ถั่วฝักยาวไร้ค้างสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง
                                      แหล่งที่มาhttp://www.oknation.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น