วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฟักทอง

                                       ฟักทอง 

ฟักทองได้ชื่อว่าเป็นพืชผักที่อุดมไปด้วยวิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซีและวิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น leutin xanthins และ carotenes เป็นต้น ฟักทองมีแคลอลี่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมคอเรสเตอรอลและผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ฟักทองไม่มีไขมันอิ่มตัว(saturated fats)มีเส้นใยอาหารที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก

วิตามินเอในฟักทอง ช่วยเรื่องผิวพรรณ บำรุงสายตา มีการวิจัยยืนยันว่า อาหารที่มีวิตามินเอสูง ช่วยป้องกันมะเร็งปอด และมะเร็งในช่องปากได้

มาปลูกฟักทองเป็นผักสวนครัวกันดีกว่า

ฟักทองเป็นพืชเถาปลูกได้ทั่วไป เป็นพืชผักที่แมลงไม่ค่อยชอบทำลาย อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 120-180 วัน ผักทองแต่ละต้น จะให้ผลได้ 4-5 ผล ถ้าดูแลดี ๆ จะให้ผลได้ถึง 7 ผล ต่อต้นทีเดียว

ลักษณะนิสัยของฟักทอง

ฟักทองเป็นพืชผักที่มีลำต้นทอดและเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่นเดียวกับแตงโม มีดอกสีเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องการช่วยผสมเกสร โดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัด หรือมีแมลงผสมเกสร หรือผู้ปลูกช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผล

ฟักทองเป็นไม้เถาอ่อน มีขนสากมือ มีหนวดสำหรับเกี่ยวพันทอดไปตามพื้นดิน จึงต้องการเนื้อที่ปลูกมากกว่าพืชผักอื่นๆ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุปีเดียว (ฤดูเดียว) เมื่อให้ผลแล้วก็ตายไป

ฟักทองมีหลายพันธุ์ทั้งแบบต้นเลื้อยและเป็นพุ่มเตี้ย พันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน ส่วนพันธุ์หนักมีอายุตั้งแต่หยอดเมล็ดจนติดผลอ่อน 45-60 วันและให้ผลแก่เมื่อ 120-180 วัน

ดินที่ฟักทองชอบ

ฟักทองปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีการปลูกผัก ชอบดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี และมีการระบายน้ำดี มีค่าความเป็นกรด-ด่างของดินระหว่าง 5.5-6.8 (ชอบดินเป็นกรดเล็กน้อย) ชอบอากาศแห้ง ดินไม่ชื้นแฉะ และน้ำไม่ขัง

ฤดูปลูก ส่วนมากจะเริ่มปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม หรือหลังฤดูทำนา แต่สามารถได้ดีในปลายฤดูฝน และต้นฤดูหนาวคือช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม และปลูกได้ดีที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธุ์

การเตรียมดิน

ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืช ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด

การปลูก 

พันธุ์หนัก เป็นพันธ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร
พันเบา เป็นพันธุ์ที่มีทรงต้นพุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75x150 ซม.

ใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็วการหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก

การดูแลรักษาและใส่ปุ๋ย

เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน

เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน

เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน

พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา

การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ นอกจากนี้ ควรช่วยกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะแรก เพื่อให้ดินร่วนซุยและโปร่ง พอต้นฟักทองมีใบปกคลุมดินแล้วก็ไม่ต้องกำจัดวัชพืช

เทคนิคการช่วยผสมเกษรให้ฟักทอง

เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป วิธีนี้เรียกว่า "การต่อดอก"

วิธีสังเกตดอกตัวผู้-ตัวเมีย ดอกตัวผู้จะมีลักษณะเป็นรูปลำโพงเฉย ๆ แต่ดอกตัวเมียจะมีตุ่ม เหมือนฟักทองลูกเล็ก ๆ ดอกตัวเมียจะเกิดหลังตัวผู้ จะมีตอนกลาง ๆ เถาไปส่วนปลายยอดเถา

ดอกตัวเมียและตัวผู้ของฟักทองจะเริ่มบานในช่วงเวลา 3.30-6.00 น. อับละอองเรณูของฟักทองจะแตกระหว่างเวลา 21.00-3.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 16 ชั่วโมง หลังอับละอองเรณูแตกยอดเกสรตัวเมียจะพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้นในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรฟักทอง คือ ตั้งแต่เวลา 6.00-9.00 น.

แมลงศัตรูของฟักทอง

แมลงศัตรูที่สำคัญของฟักทองคือเพลี้ยไฟ ควรปลูกมะระล้อมไว้สัก 2 ชั้น แล้วจึงปลูกฟักทอง เพราะมะระจะต้านทานเพลี้ยไฟได้ดี หรือปลูกมะระแซมในแปลงที่ปลูกฟักทอง ก็ยิ่งดี จะได้ถึง 2 ต่อ คือได้กินมะระ และกินฟักทองด้วย นะครับ

แหล่งที่มา
http://www.doae.go.th/library/html/detail/pumpkin/pumpkin2.htm 

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ผักกระเฉด

ผัก "กระเฉด" พืชสวนครัว
41.gif (966 bytes)
      ในปัจจุบันคนไทยหันมารับประทานผัก ผลไม้กันมากขึ้นและคงจะคุ้นกับผักชนิดหนึ่งที่รับประทานแต่ยอดอ่อน ๆ นั้นคือผักกระเฉด ไม่ว่าจะนำมาทำต้มยำ ผัด หรือ ลวก ผักกระเฉดสามารถทำได้ นับได้ว่าผักกระเฉดเป็นพืชที่ทำอาหารได้สารพัด แต่ผู้คนมักจะมองข้ามเนื่องจากราคาในตลาดไม่โดดเด่น แต่ใครจะรู้ว่าสามารถทำเงินได้เป็นเรือนหมื่นเพราะเมื่อปลูกได้ประมาณ 3 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวได้และแตกยอดใหม่ให้เก็บได้ทุก ๆ  วัน
       การปลูกผักกระเฉด
         รู้กันอยู่แล้วว่าผักกระเฉดนั้น จะปลูกกันบนน้ำ เพระฉะนั้นการดูแลเรื่องการรดน้ำหายห่วยไม่ต้องมาคอยรดน้ำทุกวัน การปลูกกันบนน้ำซึ่งลึกประมาณ 1 เมตร อาจทำการปลูกแบบลอยแพหรือดำกอในสระได้ใน 1 ไร่ สามารถปลูกได้ประมาณ 200-220 กอ ๆ ละ 4-6 ยอด แต่ละกอห่างกันประมาณ 1 เมตร
        การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นผักกระเฉด
        เดิมใช้ปุ๋ยเคมีพบว่าต้นกระเฉดโทรมไว้ ต้นแม่อยู่ได้ประมาณ 3 เดือน ก็ต้องเปลี่ยนต้นแม่ให้ทำให้เกิดการไม่ต่อเนื่องของผลผลิตและเพิ่มต้นทุนการผลิต จึงหันมานิยมใช้ปุ๋ยน้ำหมักแทนจะพบว่าต้นแม่น้ำนั้นมีอายุได้ปีกว่าแล้วยังไม่ได้เปลี่ยนรุ่นเลย วิธีให้คือ นำน้ำที่ได้จากการหมักจากผัก ผลไม้เหลือทิ้ง + น้ำตาล + หัวเชื้อ นำน้ำได้จากการหมักผสมลงไปพร้อมกับน้ำที่เติมลงในสระ
        การกำจัดศัตรูพืชและโรคผักกระเฉด
        ผักกระเฉดนั้นมีแมลงรบกวนเช่นเพลี้ยไฟ หนอนหนังเหนียว แมลงปีกแข็ง จะเห็นได้ว่าแมลงที่รบกวนผักกระเฉดนั้นมีหลาย ๆ ชนิดจึงจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากและพบปัญหาสารเคมีตกค้างอยู่มาก ดังนั้นในปัจจุบันจึงหันมาใช้วิธีธรรมชาติคือใช้ผงสะเดา ผสมในอัตราส่วน 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการพ่นทุก ๆ วัน ส่วนของโรคจะพบโรคโคนเน่าบ่อยที่สุดมักเกิดในแปลงที่มีการปลูกซ้ำ ๆ กันหลายรุ่น ๆ ต้องแก้ไขด้วยการปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางด้วยซิลิเกตและพ่นยากำจัดเชื้อรา การเลี้ยงดูจะต้องทำการลอกแหนออกทุก ๆ 7 วัน จะทำให้ยอดอวบ สีเขียวและนมจะฟูขาวซึ่งเป็นที่นิยมของตลาด
      ทำไมผักกระเฉดถึงได้ทำเงินเรือน หมื่น
ุ     เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจะได้ผลผลิตประมาณ 400-500 กก./ไร่/สัปดาห์ (การเก็บแต่ละครั้งจะห่างกัน         ประมาณ 7 วัน) ราคาจะอยู่ที่ 10 บาท/ กก. ในฤดูหนาวผลผลิตจะลดลงเหลือ 200 กก. / ไร่/สัปดาห์ แต่ราคาจะสูงอยู่ที่ 15 -20 บาท /กก. นับว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้มที่จะลงทุน แต่ที่สำคัญคือจะต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ ส่วนของตลาดนั้นส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าและแม่ค้าในตลาดหรือไม่ก็เป็นร้านอาหารทั่วไปที่มีอยู่เกลื่อนกลาดในบ้านเรา
       ปฏิทินการจัดการเกี่ยวกับผักกระเฉด
      เริ่มต้นจากการปลูกรอประมาณ 3 เดือน ก็สามารถตัดยอดอ่อนแรกได้ เมื่อตัดยอดแล้วก็เริ่มให้ปุ๋ยบำรุงต้นแม่ ทำการลอกแหนเพื่อไม้มีปริมาณแหนมากเกินไป จากนั้นพ่นยาฆ่าแมลง เติมน้ำเข้าสระให้ได้ความสูงประมาณ 1 เมตร เมื่อเสร็จครบทุกอย่างที่เหลือเพียงรออีก 7 วัน ก็สามารถตัดยอดใหม่ได้อีก เมื่อเห็นผลตอบแทนที่สุงและดูแลที่ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากแล้วคงจะไม่มีใครอยู่เฉย ๆ และปลูกผักกระเฉดเพียงไร่เดียวหลอกนะ
แหล่งที่มาhttp://www.nakornban.net
                                                            

กะหล่ำดอก


กะหล่ำดอก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea กะหล่ำดอก มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นผักประเภทอายุปีเดียวและอายุสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นผักอายุปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 40-55 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5-1.20 กิโลกรัม เส้นผ่า ศูนย์กลาง ประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน
กะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้
กะหล่ำดอก เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารของคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับภัตตาคาร ระดับโรงแรม หรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงตามครัวใหญ่ครัวเล็กของบ้านต่างๆ เหตุที่กะหล่ำดอกได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากเนื่องจาก มีรสชาติ อร่อย กรอบหวาน มีสีดอกเหลืองอ่อนน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งผัด แกง ใส่ก๋วยเตี๋ยวหรืออื่นๆ อีกมากมาย กะหล่ำดอกเป็นผักที่ขายได้ราคาดี ไม่ค่อยเสียหายระหว่างขนส่ง เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นหลายชนิด เพราะลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่อวบน้ำ

พันธุ์ของกะหล่ำดอก

สามารถแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นคือ ประมาณ 60-75 วัน ได้แก่ พันธุ์เออลี่ สโนว์บอลล์ (Early snowball) มีอายุการ เก็บเกี่ยว ประมาณ 60-75 วัน พันธุ์ Burpeeana มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 58-60 วัน และพันธุ์ Snow drift มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 63-78 วัน
2. พันธุ์กลาง เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ ประมาณ 80-90 วัน ได้แก่ พันธุ์ Snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน และพันธุ์ Halland erfurt improve มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน และพันธุ์ Cauliflower main crop snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน
3. พันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานประมาณ 90-150 วัน ได้แก่ พันธุ์ Winter มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน และพันธุ์ Putna มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน

นอกจากกลุ่มพันธุ์ดังกล่าวแล้ว
 ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอย่างมาก โดยเฉพาะในอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และยุโรป บางประเทศได้แก่
1. พันธุ์ไวท์ คอนเทสซ่า ไฮบริด (White contessa hybrid, Sakata) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 500 กรัม เนื้อแน่น ใบมีสีเขียวเข้มและเรียบ เป็นพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งและอากาศร้อนได้ดี
2. พันธุ์ฟาร์มเมอร์ เออลี่ ไฮบริด (Farmer early hybrid, Know-you) เป็นกะหล่ำดอกพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 1 1/2 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดีสม่ำเสมอ
3. พันธุ์สโนว์บอลล์ เอ (Snow ball A, Takii) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว แน่นและแข็ง มีใบนอกหุ้มดอกไว้ พันธุ์สโนว์ พีค (Snow peak, Takii) เป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นสำหรับปลูกในประเทศเขตร้อนโดยเฉพาะ เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว คุณภาพดีแน่น และดอกค่อน ข้างกลม
5. พันธุ์ซุปเปอร์ สโนว์บอลล์ (Super snow ball) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มพันธุ์ Snow ball ด้วยกัน
6. พันธุ์สโนว์ คิง ไฮบริด (Snow king hybrid) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ที่มีดอกสีม่วง ได้แก่ พันธุ์ Royal purple และพันธุ์ Purple head ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 80-85 วัน

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

กะหล่ำดอก สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วน เหนียว และควรเป็นดินที่มีการอุ้มน้ำและอินทรีย์วัตถุได้ดี ตลอดจนการระบายน้ำและอากาศดีไม่ทนต่อสภาพดินเป็นกรดจัด ลักษณะ ของดินในการปลูกจะมีผลต่อคุณภาพของดอกอย่างมาก การปลูกกะหล่ำดอกในดินร่วนโปร่ง โอกาสที่จะได้รับผลกระทบจาก อากาศ ร้อน และแห้งแล้งมีมากกว่า ดังนั้นจะได้ดอกที่หลวมคุณภาพต่ำ ส่วนการปลูกกะหล่ำในดินเหนียวแม้ว่าจะเจริญเติบโตช้าในระยะแรก แต่การเจริญทางใบก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ดอกกะหล่ำเกาะตัวเป็นก้อนแน่นคุณภาพสูงกว่า ดินที่เหมาะสมในการปลูกควรมีความ เป็น กรดเป็นด่าง ระหว่าง 6-6.8 และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ด้วย
แต่เดิมนั้นการปลูกกะหล่ำดอก ต้องปลูกในฤดูหนาว ยิ่งหนาวมากยิ่งดี แต่ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าจนได้กะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ ที่ สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน เพียงแต่ให้เป็นที่ที่อากาศในเวลากลางคืนเย็นพอสมควร แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวจะดีกว่า ความ ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกอยู่ระหว่าง 15.5-18.3 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามหากปลูกกะหล่ำดอกในที่มีอุณหภูมิต่ำ เกินไปจะทำให้ดอกกะหล่ำโตช้า และยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไป

การเพาะกล้ากะกล่ำดอก

การเตรียมแปลงเพาะกล้า ให้ไถดินให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลาย ตัวดี แล้ว ให้มากคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยชั้นผิวดินให้ละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดตกลึกลงไปในร่องดิน ทำให้ไม่งอกหรือ งอกยาก
หลังจากเตรียมแปลงเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วพื้นผิวแปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่าหว่านกล้าให้แน่น เกิน ไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินได้ หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้หว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดิน ผสม ละเอียด หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร หรือทำร่องเป็นแถวลึกประมาณ 1 1/2 – 2 เซนติเมตร หลังโรยเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แต่ละ แถว ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมละเอียดเช่นกัน หลักจากหว่านเมล็ด เรียบร้อยแล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อต้นกล้างอกเริ่มมีใบจริง ควรถอนแยกต้นที่อ่อนแอ ต้นไม่สมบูรณ์และขึ้นเบียดเสียดกันแน่นเกินไปออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 5-8 เซนติเมตร ช่วงนี้ควรให้ปุ๋ยพวกสารละลายสตาร์ทเตอร์โซลูชั่นแก่ต้นกล้า และหมั่นตรวจดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิด จนกระทั่วเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 30-40 วันจึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูกต่อไป

การเตรียมดินปลูกกะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก เป็นผักที่มีระบบรากตื้น การเตรียมดินเพียงขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บ เศษหญ้า เศษวัชพืชออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่ควรละเอียดเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ยกเป็น แปลงๆ พร้อมที่จะนำต้นกล้าลงปลูก

การปลูกกะหล่ำดอก

เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ อายุได้ประมาณ 30-40 วัน ต้นสูงประมาณ 10-12 เซนติเมตร จึงทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลง ไม่ควร ปล่อยให้ต้นกล้ามีอายุแก่เกินไป จะทำให้รากเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่ายขณะทำการย้าย มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำบนแปลเพาะกล้าให้ชุ่มแต่ไม่แฉะ ควรเลือกย้ายกล้าในวันที่แสงแดดไม่จัด และย้ายในเวลาเย็นหรือช่วง อากาศมืดครึ้ม เพื่อหลีกเลี่ยนการคายน้ำมากเกินไปของต้นกล้า ซึ่งจะทำให้กล้าเหี่ยวตายได้
การปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร โดยปลูกเป็นหลุมบนแปลง หลังจากปลูกควรกลบ ดินกดบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้น เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในพื้นที่ที่มี แสงแดด จัดควรหาที่ปังแดดให้ ซึ่งอาจใช้ทางมะพร้าวคลุมไว้ประมาณ 3-5 วัน จึงเอาทางมะพร้าวออก

การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำดอก

การให้น้ำ ในช่วงแรกหลังจากย้ายปลูกไม่ต้องให้น้ำมากนัก เพียงให้ดินมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างเพียงพอก็พอ สังเกตดูว่าดินแฉะ เกิน ไปหรือไม่ ถ้าดินแฉะเกินไปก็ลดปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้งให้น้อยลง เพราะถ้าแฉะเกินไปจะทำให้ต้นกะหล่ำดอกเกิดโรคเน่าเละ ได้ง่าย เมื่อกะหล่ำดอกโตขึ้นก็ให้น้ำมากขึ้นเพราะการระเหยน้ำเกิดเร็วขึ้น ควรให้อย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและเย็น อย่า ปล่อยให้กะหล่ำดอกขาดน้ำ เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและกระทบกระเทือนต่อการสร้างดอก ทำให้คุณภาพและปริมาณ ดอกลดลง ในฤดูแล้งควรมีการคลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง จะช่วยให้รักษาความชื้นในดินไว้ได้ดี
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยไนโตรเจนนับว่ามีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของกะหล่ำดอกมาก ดังนั้นในระยะแรกควรมีการให้ปุ๋ยไนโตเจน ในรูปของ แอมโมเนียม ซัลเฟตหรือยูเรีย จากนั้นจึงใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความอุดมสมบูรณ์ ของดิน โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อกะหล่ำดอกอายุประมาณ 30-40 วันหลังย้ายปลูก โดยโรยใส่ข้างต้นแล้วพรวนดินกลบลงในดิน
การพรวนดิน ควรทำในระยะแรกขณะที่วัชพืชยังเล็กอยู่พร้อมกับการกำจัดวัชพืชพร้อมกันไปด้วย
การคลุมดอก เมื่อดอกกะหล่ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร หรือดอกโตจวนจะได้ขนาดแล้วควรมีการคลุมดอก โดย รวบใบบริเวณปลายยอดเข้าหากันอย่างหลวมๆ ระวังอย่าให้แน่นเกินไป แล้วใช้ยางรัดของมัดไว้ จะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีขาวนวล น่ารับประทาน มีคุณภาพดีเหตุที่ต้องมีการคลุมดอกก็เพื่อป้องกันแสงแดดส่องถูกผิวของดอกกะหล่ำ ซึ่งจะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีเหลือง อันเนื่องมาจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งลักษณะดอกกะหล่ำที่มีสีเหลืองตลาดมักจะไม่ต้องการ ปกติแล้วหลังจากคลุมดอกจะสามารถ เก็บเกี่ยว ได้ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่า แต่ถ้าในฤดูร้อนจะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ในปัจจุบันกะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ จะมีใบ คลุมดอกได้เองโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องคลุมดอกให้

การเก็บเกี่ยวกะหล่ำดอก

สังเกตได้จาก ขนาดของดอกที่มีขนาดโตเต็มที่ และเป็นก้อนแน่นก่อนการยืดตัวไปเป็นช่อดอก ทั้งนี้อาจจะนับจากจำนวนวันที่ดอกเริ่ม เจริญพอสังเกตเห็นได้ต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวได้หากอากาศไม่หนาวเกินไป นอกจากนั้นอาจสังเกตได้จาก อายุการเก็บเกี่ยว โดยพันธุ์เบาจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วันหลังจากย้ายกล้า และพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วันหลังจากการย้ายกล้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดตัดดอกกะหล่ำ ให้มีส่วนของใบบริเวณใกล้ดอกติดมา ด้วย 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่ง ควรเลือกตัดดอกที่ยังอ่อนแต่โตเต็มที่แล้วคือ สังเกตจากดอกกำลังมี สีครีม และหน้าดอกเรียบ

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำดอก

โรครากปมของกะหล่ำ สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอยชนิด Meloidegyne sp. ลักษณะอาการ ของโรคนี้ต้นกะหล่ำดอกจะแคระแกร็นไม่ค่อยเจริญเติบโต เมื่อขุดรากขึ้นมาตรวจดูจะพบว่าบริเวณรากแขนงและ รากฝอยมีลักษณะ บวม เป็นปมขนาดต่างๆ ทำให้รากไม่สามารถหาอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ไส้เดือนฝอยตัวเมียที่เข้าไปอยู่ในปมจะไปแย่งอาหาร จากพืชด้วยทำให้ลำต้นแคระแกร็นชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด ควรไถตากดินให้ลึก ใส่พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือกากพืชให้มาก และเมื่อพบไส้เดือนฝอยชนิดนี้ระบาดควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นสัก 1-2 ปี เช่น ข้าวโพด เป็นต้น
โรคเน่าดำ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Xanthomonas campestris ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นที่ใบ โดยใบจะมีสีเหลือง และแห้ง หลังจากนั้นจะปรากฏสีดำบนเส้นใบ มักพบในระยะกะหล่ำกำลังเจริญเติบโต ทำให้กะหล่ำดอกชะงักการเจริญเติบโต แคะแกร็น หากทำการผ่าตามขวางของลำต้นจะพบวงสีน้ำตาลดำบนเนื้อเยื่อของพืชและต้นอาจตายได้
การป้องกันกำจัด ใช้เมล็ดที่ปลอดโรคโดยนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นก่อนปลูก เพื่อฆ่าเชื้อดังกล่าว และควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับบ้าง หากเกิดโรคนี้บนแปลงควรงดการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอย่างน้อย 3 ปี
โรคเน่าเละของกะหล่ำดอก สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovara อาการในระยะแรกจะพบเป็นจุดช้ำหรือฉ่ำน้ำ ที่บริเวณดอก ต่อมาจุดเหล่านี้ขยายออก เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงดำ เนื้อเยื่อบริเวณแผลมีลักษณะเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็น มากๆ ทำให้ดอกเกิดอาการเน่าเละเป็นสีน้ำตาลดำไปทั้งดอก และโรคนี้จะแพร่ไปยังต้นที่อยู่ใกล้เคียงโดยมีแมลงวันเป็นพาหนะ
การป้องกันกำจัด ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลบนดอกกะหล่ำ กำจัดแมลงที่กัดกินดอกกะหล่ำ และเมื่อพบดอกกะหล่ำที่แสดง อาการให้ตัด ไปเผาทำลาย
หนอนใยผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plutella xylostella เป็นหนอนที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก ชอบวางไข่ตาม ใต้ใบเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มติดกัน 2-5 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กมากค่อนข้างแบนและยาวรี ไข่มีสีเหลืองอ่อนเป็นมัน มีผิวขรุขระ ระยะการเป็นไข่ 2-3 วัน เมื่อไข่ใกล้ฟักออกเป็นตัวหนอนจะมีสีเหลืองเข้ม ตัวหนอนมีขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก มีการเจริญ เติบโตรวดเร็วกว่า หนอนอื่น เพียงแค่ 1 สัปดาห์ ก็จะโตเต็มที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมา 2 แฉก ลำตัวอาจเป็น สีเขียว ปนเทาอ่อน หรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง สามารถสร้างใยพาตัวเองขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับต้นพืช ดักแด้ มี ขนาด 1 เซนติเมตร อยู่ภายในใยบางๆ ติดใต้ใบ อายุดักแด้ 3-4 วัน ส่วนตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน มีสีเทา หลังมีแถบ สีเหลือง เข้ม มีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินผิวด้านล่างใบจนเกิดเป็นรูพรุนและมักเข้าไปกัดกินในยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ผัก ได้รับความเสียหายสามารถทำลายผักในตระกูลกะหล่ำเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และผักกาดต่างๆ
การป้องกันกำจัด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง การใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิสทำลาย และหมั่นตรวจดูแปลงกะหล่ำดอกอยู่เสมอ เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที
หนอนเจาะยอดกะหล่ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hellula undalis ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก แม่ผีเสื้อจะวางไข่เดี่ยวๆ หรือ เป็นกลุ่มตามยอดอ่อนหรือใบอ่อน บางครั้งวางไข่บนดอกที่ยังตูมอยู่ ไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวเล็กน้อย ไข่ระยะแรกมีสีขาว ซีด ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลขนาดของไข่ประมาณ 0.34-0.55 มิลลิเมตร เมื่อไข่อายุ 2 วันจะมีสีชมพูเกิดขึ้นบนไข่ เมื่ออายุ มากขึ้นไข่จะเริ่มมีสีดำ และเริ่มออกเป็นตัวภายในระยะเวลา 3-5 วัน แม่ผีเสื้อตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ประมาณ 14-255 ฟอง ตัวหนอนเมื่อโตเต็มที่ยาว 1-2 เซนติเมตร ผิวดำตัวใส มีแถบสีน้ำตาลพาดตามยาว ระยะการเจริญเติบโตของหนอนประมาณ 15-23 วัน จึงเข้าระยะดักแด้โดยสร้างใยหุ้มลำตัวติดกับเศษพืชที่ผิวดินหรือใต้ผิวดิน ดักแด้มีขนาดยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร เข้าดักแด้ใหม่ๆ จะมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาจะมีสีเข้มขึ้นระยะการเป็นดักแด้ประมาณ 7-11 วัน สำหรับตัวเต็มวัยลำตัวยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลปนเทาพาดตามขวางโค้งไปมา ปีกคู่หลังมีสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ตัวเต็มวัยมีอายุอยู่ได้ 7-10 วัน
ลักษณะการทำลาย หนอนเจาะยอดกะหล่ำจะทำความเสียหายให้กับผักตระกูลกะหล่ำ โดยตัวหนอนจะเจาะเข้าทำลายดอก ทำให้ยอด ชะงักการเจริญเติบโต หนอนจะเจาะก้านดอกกัดกินดอกอ่อน ตาอ่อน หรือเจาะเข้าไปทำลายในผัก หนอนที่ออกจากไข่ใหม่ๆ อาจเจาะ เข้าไปทำลาย ผักใต้ผิวใบหรืออาจเจาะเข้าไปในส่วนของตาดอก บางครั้งจะเจาะเข้าไปในส่วนของตาดอก บางครั้งจะเจาะเข้าไปกิน ภาย ในส่วนของลำต้น เห็นรอยกัดกินเป็นทาง เราอาจพบมูลตามลำต้นและใบ โดยหนอนจะกัดใบคลุมตัวเองและจะกัดกินอยู่ภายใน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีเมวินฟอส อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อหนอนระบาด ควรพ่นทุกๆ 5 วัน หรืออาจใช้เมตา ไมโดฟอส ในอัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
แหล่งที่มาhttp://www.vegetweb.com/

สะระแหน่

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Lamiales

วงศ์ Lamiaceae

สกุล Melissa

สปีชีส์ M. officinalis

ชื่อวิทยาศาสตร์ Melissa officinalis

สะระแหน่ หรือ (อังกฤษ: Lemon balm) เป็นพืชสมุนไพรยืนต้น เป็นพืชในตระกูลมิ้นต์ วงศ์กะเพรา มีแหล่งกำเนิดมาจากแถบยุโรปตอนใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70 - 150 เซนติเมตร ส่วนใบจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว และทุก ๆ ปลายฤดูร้อนต้นสะระแหน่จะออกดอกสีขาว ๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำหอมและน้ำหวาน อยู่ภายใน นี้ดึงดูดใจให้ผึ้งมาดูดน้ำหวานและจากเหตุนี้ทำให้สะระแหน่อยู่ในสกุล Melissa (ภาษากรีก แปลว่า "น้ำผึ้ง") และยังมีรสชาติคล้ายคลึงกับ ตะไคร้หอม, มะนาว และแอลกอฮอล์

การเพาะปลูก

สะระแหน่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย มันแค่ต้องการหญ้าหรือฟางมาคลุมใว้ด้านบนในช่วงที่อากาศหนาว ดินที่เหมาะสมในการปลูกคือดินร่วนปนทรายที่ซึ่งน้ำสามารถไหลซึมได้อย่างสะดวก สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่อย่างน้อยก่อนจะหมดเดือนพฤศจิกายน ชอบที่ที่มีแดดเพียงพอแต่ไม่มากจนเกินไปเช่นเดียวกับพืชตระกูลมิ้นต์ และเหมาะที่จะปลูกในสภาพอากาศที่แห้งและความชิ้นต่ำ จะโตได้ดีที่สุดในที่ร่มและยังสะดวกที่จะเพาะปลูกในกระถางในร่ม สามารถเพาะเป็นแบบเมล็ดโดยการว่านกระจายไปให้ทั่วบริเวณ อุณหภูมิไม่เย็นจัดจนเกินไป ลำต้นจะเริ่มตายลงในช่วงฤดูหนาวและจะเริ่มงอกใหม่ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ยังเหมาะที่จะปลูกโดยไม่ใช้ดินและปักต้นกล้า และถ้าหากไม่คอยเอาใจใส่ดูแลให้ดี มันก็อาจจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ไปทั่วจนก่อให้เกิดความรกรุงรังและน่ารำคาญได้
ประโยชน์
การทำครัว สะระแหน่มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีมและชาสมุนไพร ทั้งร้อนและเย็น และมักผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นเช่น สแปร์มิ้นต์ อีกทั้งยังเหมาะในการเป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สดและขนมหวาน

ประโยชน์และสรรพคุณทางยา

มักนำใบสะระแหน่มาบดแล้วทาลงบนผิวหนังจะทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นอีกทั้งยังช่วยไล่ยุง นอกจากนี้ยังใช้ทำยาผสมลงไปในชาสมุนไพรหรือคั้นน้ำมาผสมลงในเครื่องดื่ม สะระแหน่ยังสามารถนำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะและยังใช้เป็นตัวขับไล่อนุมูลอิสระออกจากร่างกาย อีกทั้งยังใช้เป็นยาเย็นและใช้เป็นยาคลายความเครียด และมีงานวิจัยอย่างน้อยชิ้นหนึ่งระบุว่ามันช่วยคลายความกดดันของกล้ามเนื้ออันมาจากความเหนื่อยล้าและความเครียด สะระแหน่ยังใช้ไปทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการทำสุคนธบำบัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

หน้ามืดตาลาย : ใบสะระแหน่และขิงสด ต้มรับประทานน้ำ

ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด : ใบสะระแหน่ต้มรับประทานน้ำ

เลือดกำเดาออกไม่หยุด : ใบสะระแหน่สดคั้นเอาส่วนน้ำ ใช้สำลีชุบแล้วใส่เข้าไปในจมูก

ผึ้งต่อย : ใบสะระแหน่ตำให้แหลก พอกบริเวณที่ถูกต่อย

ปวดหู : เอาน้ำคั้นจากสะระแหน่หยอดหู

ถ้านำเอาใบและก้านสะระแหน่ไปต้มและกลั่นด้วยไอน้ำจะสกัดได้น้ำมันสะระแหน่ และน้ำกลั่นสะระแหน่ ซึ่งใช้เป็นยาขับลม ดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับเหงื่อ ใช้รักษาหวัดลมร้อน ปวดศรีษะ ตาแดง เจ็บคอ และใช้ผสมในยาแผนปัจจุบันหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอชื่นใจ
องค์ประกอบทางเคมี
สะระแหน่ประกอบไปด้วยยูเจนอลที่สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น

แหล่งที่มาhttp://thailand-an-field.blogspot.com

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

ชื่อสามัญ : ผักกวางตุ้ง (Chinese Cabbage-PAI TSAI )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น : ผักกาดเขียว กวางตุ้งไต้หวัน กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกาดฮ่องเต้
ประโยชน์และสรรพคุณ
ผักกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ กากใยมากแต่มีไขมันน้อย ทำให้ไม่อ้วนและช่วยให้ขับถ่ายสะดวก นอกจากนี้ยังมีวิตามินสูง คือมีวิตามินซีถึง 6 มิลลิกรัม/100 กรัมที่บริโภค และยังมีแคลเซียมสูงถึง 8.5 มิลลิกรัม/100 กรัม นอกจากนี้มีเบต้าแคโรทีนมากถึง 225 ไมโครกรัม/100 กรัมที่บริโภค ซึ่งช่วยบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดี
วีธีการปรุงผักกวางตุ้ง
- ในผักกวางตุ้งมีสารไธโอไซยาเนต ซึ่งเป็นสารที่พบในผักกะหล่ำ ผักกาด และผักกวางตุ้ง การทานสารชนิดนี้ในปริมาณมากจะทำให้ท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ดังนั้นจึงไม่ควรปิดฝาเวลาผัดหรือต้ม เพื่อให้สารสารนี้สามารถระเหยออกไปกับไอน้ำได้
- ควรปรุงผักกวางตุ้งโดยใช้เวลาไม่เกิน 1-2นาที เพื่อให้วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนยังคงอยู่
ลักษณะทั่วไป
ผักกวางตุ้งสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของไทย ปลูกได้ทั้งปี ชอบดินที่ร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ค่าความเป็นกรดด่าง 6-6.8 เป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ความชื้นสม่ำเสมอ และแสงแดดตลอดทั้งวัน  นิยมปลูกผักกวางตุ้งใบเพราะอายุเก็บเกี่ยวสั้น
การปลูก
ผักกวางตุ้งมีระบบรากตื้น นิยมเตรียมแปลงโดยพลิกหน้าดินตากแดดไว้ 7 วัน ขุดดินลึกประมาณ 20-30 ซม.ใส่ปุ่ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2 กก./1 ตรม. คลุกให้เข้ากัน รดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ 3-5 วัน
การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1.หว่านเมล็ดในแปลง เนื่องจากเมล็ดเล็กมาก ควรนำเมล็ดคลุกกับทราย อัตราส่วน 1:3 แล้วจึงหว่านกระจายทั่วแปลง กลบบางๆด้วยดิน+ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก คลุมด้วยฟางแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2.โรยเมล็ดเป็นแถว ทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 ซม. ระยะห่างแถว 20-25 ซม. โรยเมล็ดแล้วกลบด้วยดิน+ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก คลุมด้วยฟางแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 4-5 ใบ ให้ถอนแยกเป็นหลุมละต้น ระยะห่างต้น 20-25 ซม. พรวนดินและกำจัดวัชพืช รดน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ให้ปุ๋ยเร่งใบเช่นปุ๋ยยูเรีย หรือฉีดน้ำหมักจุลินทรีย์สูตรเร่งใบ
การเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อ 35-45 วัน โดยใช้มีดคมๆตัดโคนทั้งต้น ควรเก็บผักที่อุณหภูมิต่ำจะช่วยให้เก็บรักษาได้นาน
แมลงและศัตรูพืชและโรคของผักกวางตุ้ง
แมลงที่พบ ได้แก่ หนอนใยผัก ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ กำจัดโดยนำเมล็ดสะเดา 1 กก. แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืร กรองเอาหัวเชื้อ 1 ลิตรผสมน้ำ 18 ลิตรฉีดพ่นทุก 3 วัน
โรคที่พบ ได้แก่ โรคกล้าเน่า โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โรคใบแห้ง ควรป้องกันโดยปรับดินด้วยปูนขาวอัตรา 200-400 กก./ไร่  แช่เมล็ดก่อนปลูกในน้ำอุ่นนาน 15-20 นาที ช่วยลดความเสียหายเนื่องจากโรคกล้าเน่า โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด และโรคเน่าดำ ไม่เพาะกล้าแน่นเกินไป ไม่รดน้ำมากเกิน
แหล่งที่มาhttp://www.ผัก.net/

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

มะกรูด

การปลูก มะกรูด (Leech Lime, Kaffin) พืชผักสวนครัว

มะกรูดเป็นพืชผักชนิดยืนต้นขนาดเล็ก มีหนามตามลำต้น ลักษณะโดยทั่วไปจะเป็นพุ่ม ถ้าลอกเปลือกลำต้นออกจะได้เป็นแผ่นเหนียวและกลิ่นหอมเฉพาะ

ใบจะออกมามีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม พร้อมด้วยกลิ่นหอม มักมีใบเล็ก ๆ ขนาด 10 เซนติเมตร เมื่อออกดอกจะออกมาเป็นสีขาว และเมื่อกลายเป็นผลก็จะมีผลกลมแต่ผิวขรุขระ เนื้อในฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว มีต่อมน้ำมันให้กลิ่นหอม

ประโยชน์

นิยมนำใบ และผิวมะกรูด มาประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น แกงเผ็ดต่าง ๆ ทอดมัน เป็นต้น นอกจากนี้นิยมใช้ผลมะกรูดปอกเลือกเผาไฟ คั้นน้ำ เอามาสระผมบำรุงรักษาเส้นผม

ใบมะกรุดอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ดังนั้นเมื่อกินเข้าไปจึงช่วยในการต้านมะเร็งได้ดียิ่ง

วิธีปลูก

เตรียมดินที่มีสภาพร่วนสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ อาจจะผสมปุ๋ยคอกและมะพร้าวสับลงไป จากนั้นใช้เมล็ดพันธุ์ มาปลูกลงในดินหรือไม่ก็ใช้ต้นกล้าเล็ก ๆ สัก 1-3 ต้น มาลงต่อ 1กระถาง เสร็จแล้ว ควรหาหลักไม้มาปัก เพื่อยึดลำต้นให้ตรงเสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มพร้อมตั้งให้ถูกแสงเป็นประจำ เมื่อแตกใบอ่อนก็สามารถเก็บมาใช้ได้


แหล่งที่มาhttp://easy-vegetables.blogspot.com

ผักหวานป่า

ผักหวานป่าผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวานชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ผักหวานป่า การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากวิธีการอื่น ๆ เช่น การตอน การตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากด่ำมาก และใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะออกราก รวมทั้งจำนวนกิ่งที่ได้น้อย เนื่องจากต้นแม่พันธุ์หายาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขและวิธีปฎิบัติ ดังนี้
  1. คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุดและสดใหม่เท่านั้น
  2. แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง และขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรง หรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่นในกระดังหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงานเนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
  3. นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยน้ำออก
  4. นำเมล็ดที่จมน้ำขื้นผื่งพอสะเด็ดน้ำ คลุกด้วยยากันราให้ทั่ว แล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงให้เป็นชั้น หนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมตะแกรงด้วยกระสอบป่าน ที่ชุบน้ำหมาด ๆ เก็บไว์ในที่ร่ม 2-3 วัน
  5. ดรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเมล็ดเริ่มแตกร้าว ให้นำไปเพาะในถุงพลาสติกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว
  6. วัสดุที่ใช้เพาะได้ผลดีควรใช้ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่า หรือใบไม้ผุ ร่อนด้วยดะแกรงตาถี่ครื่งเซนดิเมตร ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร
  7. วิธีเพาะให้กดเมล็ดด้วยนิ้วมือพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดิน หรือโผล่พ้นผิวดินเพาะเล็กน้อยนำไปไว้ไตัร่มเงาที่มีความเข้มแสง ประมาณ 40-50 %
  8. ดูแลรดน้ำให้พอวัสดุเพาะชื้น ระวังอย่าใหัแฉะ
ในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าเดือนที่สองจึงเริ่มทะยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็นบ้าง หลังจากเพาะได้ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 -10 ซม.หลังจากนี้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-15-15 ผสมน้ำฉีดพ่นกล้าทุก 2 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของลำต้นเหนือดินในปีแรกจะช้ามาก
   แหล่งที่มาhttp://www.vegetweb.com/